![]() |
ภาพพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) |
พระเจนดุริยางค์ เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก เมื่อปี พ.ศ. 2433 และได้จบการศึกษาหลักสูตรภาษาฝรั่งเศษและภาษาอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2433 จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2444 ภายหลังได้สำเร็จการศึกษาจึงได้สมัครเป็นครูที่โรงเรียนอัสสัมชัญและภายหลังประมาน 2 ปี หรือในช่วงปี พ.ศ. 2446 จึงเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง
เมื่อปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้โอนพระเจนดุริยางค์มาเป็นครูในกรมมหรสพ ซึ่งต่อมาได้โอนมาอยู่กรมศิลปากร ในตำแหน่งครูวงเครื่องสายฝรั่งหลวง และทำหน้าที่เป็นผู้สอนวิชาดนตรีสากลให้กับสามัคยาจารยสมาคมและผลักดันให้วิชาขับร้องเป็นวิชาเลือกในการสอบเลื่อนวิทยฐานะทั้งชุดของครูประถมและครูมัธยม
ตัวอย่างผลงานที่โดดเด่นของพระเจนดุริยางค์
- ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย
- ริเริ่มสร้าง เพลงไทยประสานเสียง สำหรับการบรรเลงเพลงไทยด้วยเครื่องดุริยางค์สากล โดยเคาะระนาดเทียบเสียงโน๊ตสากลทุกตัว เพื่อให้เสียงตรงกับต้นฉบับเพลงไทยเดิม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเพลงไทยเดิมที่บรรเลงด้วยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปกร
- ประพันธ์เพลงไทยประสานเสียงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง พระเจ้าช้างเผือก บทและอำนวยการสร้างโดย นายปรีดี พนมยงค์ , บ้านไร่นาเรา ของกองภาพยนตร์กองทัพอากาศ ทุ่งมหาเมฆ
- เรียบเรียงทำนองเพลงไทยประสานเสียง ได้แก่ ต้นบรเทศ , แขกเชิญเจ้า , ปฐม , ขับไม้บัณเฑาะว์ , พม่าประเทศ ฯลฯ รวมทั้งเพลงประกอบการเเสดง และละครเวที
- เรียบเรียงตำราวิชาดนตรีสากลเป็นภาษาไทย เช่น ทฤษฎีการดนตรีเบื้องต้น , การประสานเสียงเบื้องต้น , ตำราประสานเสียง 3 เล่มจบ
**********************************************************
ขุนวิจิตรมาตรา
ขุนวิจิตรมาตรา หรือ สง่า กาญจนาคพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เป็นบุตรชายคนเดียวของบิดามารดา บิดาชื่อ ขุนสารการ (ทองดี) และมารดาชื่อ พับ ขุนสารการ มีอาชีพรับราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทยและเป็นผู้พิพากษา
ขุนวิจิตรมาตรา สมรสกับ นางสาววิเชียร อภิวัฒน์ มีบุตร-ธิดา รวม 7 ท่าน คือ
- นายโสภณ กาญจนาคพันธุ์
- นายโสภิณ กาญจนาคพันธุ์
- นางโสภา เปี่ยมพงศ์สานต์ ( ภรรยา นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ )
- นายชาญ กาญจนาคพันธุ์
- นายดิเรก กาญจนาคพันธุ์
- นางสีแพร จริตงาม ( ภรรยา เรืออากาศเอกสงวน จริตงาม )
- ร้อยตรีเอก กาญจนาคพันธุ์
ท่านเริ่มชีวิตนักประพันธ์ด้วยการเขียน บทละครร้อง ตั้งแต่อายุ 20 ปี หลังจากนั้นก็ได้ทำงานเขียนประเภท นิยาย สารคดี การประพันธ์เพลง หรือแม้แต่งานทางด้านภาพยนตร์
ตัวอย่างผลงานที่โดดเด่นของ ขุนวิจิตรมาตรา
- ผลงานด้านการประพันธ์ เช่น ประพันธ์คำร้องของเพลงชาติไทยฉบับแรกของสยาม ฉบับชั่วคราว (7 วัน) เมื่อปี พ.ศ. 2475 และได้แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับเข้าประกวดเพลงชาติฉบับราชการในปี พ.ศ. 2476 เป็นต้น
- ผลงานด้านภาพยนตร์ เช่น รบระหว่างรัก (2474) กำกับ/เรื่อง (หนังเงียบ) , หลงทาง (2475) กำกับ/เรื่องและเพลง , ท้าวกกขนาก (2475) กำกับ/เรื่อง (หนังเงียบ) เป็นต้น
- ผลงานด้านละครไทย เช่น ศรอนงค์ (เรื่องและเพลง ละครเวทีคณะของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ศาลาเฉลิมกรุง พ.ศ. 2486) เป็นต้น
- ผลงานด้านหนังสือ เช่น สำนวนไทย, 80 ปี ในชีวิตข้าพเจ้า, ภูมิศาสตร์สุนทรภู่, คอคิดขอเขียน เป็นต้น
ขุนวิจิตรมาตรา ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 ( อายุ 83 ปี )
**********************************************************
ฉันท์ ขำวิไล
ฉันท์ ขำวิไล เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 เริ่มการเขียนหนังสือตั้งแต่บวชพระขณะที่จำพรรษาอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ หนังสือเล่มแรกที่เขียนว่าด้วย วิธีบวก ลบ คูณ หาร ต่อมาได้แต่งเรื่อง นิราศลาสิกขา , ตำราฉันทศาสตร์ , ตำนานนิราศ , กาพย์เห่เรือ นิราศฉันทโสภณ และกลอนกำศรวลวังหลัง โดยเฉพาะกลอนเรื่องนิราศลาสิกขา เป็นที่พอพระทัยของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพมากถึงกับทรงเรียกให้เข้าเฝ้า และยังเป็นนักเขียนชาวไทย ผู้ประพันธ์ " ป้ากะปู่กู้อีจู้ " ซึ่งเป็นบทเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาในยุคแรกๆ และบทเพลงสำหรับเด็ก
ตัวอย่างผลงานที่โดดเด่นของ ฉันท์ ขำวิไล
- เพลงชาติสยาม เนื้อร้องโดย " ฉันท์ ขำวิไล " เป็นเนื้อร้องชนะเลิศการประกวดและให้ร้องต่อจากเนื้อร้องท่อนจบของขุนวิจิตรมาตรา และได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในปี พ.ศ. 2477 ถือเป็นเนื้อร้องเพลงชาติฉบับทางการฉบับแรกของสยาม
- วิธีบวก ลบ คูณ หาร
- กลอน นิราศลาสิกขา
- กลอน กำศรวลวังหลัง
- กาพย์เห่เรือเรื่อง นิราศฉันทโสภณ
- ตำราฉันทศาสตร์
- 100 ปีของสุนทรภู่ แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2498
- ประชุมนิราศสุนทรภู่ แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2499
- แบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม1 ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ฯลฯ
ฉันท์ ขำวิไล ถึงเเก่กรรมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ( อายุ 86 ปี )
บทความนี้เขียนและเรียบเรียงใหม่โดย http://ร้องเพลงชาติไทย.blogspot.com/
สามารถนำบทความนี้ไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติ แต่ให้อ้างอิงกลับมาที่นี่ จะเป็นพระคุณยิ่ง
บทความนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒๗/๐๓/๒๕๕๙