ที่มาของทำนองเพลงชาติในปัจจุบัน ตามคำกล่าวของพระเจนดุริยางค์
พระเจนดุริยางค์ หรือ ปิติ วาทยะกร (ชื่อเดิม: ปีเตอร์ ไฟท์) |
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ. 2475
คณะราษฎรได้ประกาศให้ใช้เพลงชาติมหาชัย ประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หรือ สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นเพลงชาติใช้ชั่วคราวระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่ เเต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากประชาชนเท่าไหร่นัก และต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการเเทนเพลงสรรเสริญพระบารมีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไปประมาณ 5 วันแล้ว พระเจนดุริยางค์ รู้ภายหลังว่า หลวงนิเทศกลกิจ เป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎร และหลวงนิเทศกลกิจ ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดหนทางจะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในตอนนั้นอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และเเต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ท่านได้กำหนดนัดหมายไว้ ขณะที่ท่านนั่งอยู่บนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน ได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงและมอบโน๊ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงดนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้เเต่งเพลงนี้เอาไว้ด้วย ต่อมาหนังสือพิมพ์ศรีกรุงได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ได้ชี้เเจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ30ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นเงินบำนาญ อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยได้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาปีเดียวกันนั้นเองผู้ประพันธ์เพลงชาติไทยคนแรกสุด คือ ขุนวิจิตรมาตรา
เนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา หรือ สง่า กาญจนาคพันธ์ เป็นผู้ประพันธ์โดยคำร้องที่แต่งขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการค้นพบโน๊ตเพลงพร้อมด้วยเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว แม้เพลงนี้จะได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ และมีการจดจำต่อๆกันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาที่ชัดเจน และมีปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ในปี พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่ง เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการและเป็นฉบับต้องห้าม การจะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ในพ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ.2475 และ พ.ศ. 2477)เพลงชาติสยาม พ.ศ. 2477
ในปีพ.ศ. 2477รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติ ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธานและมีกรรมการท่านอื่นๆ คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท การประกวดเพลงชาติในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เพลงชาติแบบไทย และเพลงชาติแบบสากล